baifernha

News

มหาดีล “TRUE – DTAC” เขย่าแวดวงโทรคมนาคม ผลประโยชน์แสนล้าน “ใครได้ -ใครเสีย!

เป็นเรื่องที่ต้องจับตามองแบบห้ามกระพริบตาในแวดวงโทรคมนาคม กับมหาดีลของ 2 ยักษ์ใหญ่ “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” (TRUE) เครือซีพี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทรู และ “บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)” (DTAC) กลุ่มเทเลนอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เตรียมที่จะรวมร่างปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็น “บริษัทเทคโนโลยี” (Technology Company) ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ เสริมธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ สร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็ม และกองทุนสตาร์ทอัพ เพื่อสอดรับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาค

และที่สำคัญการรวมร่างครั้งนี้จะทำให้พี่ใหญ่ “บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)” หรือ (AIS) ต้องเสียแชมป์ลูกค้าในมือที่เยอะที่สุดไปโดยปริยาย!

แต่ถึงกระนั้นกระแสข่าวในช่วงที่ผ่านมาก็ใช่ว่า AIS จะยอมเกมนี้ง่าย ๆ โดยใช้ความแข็งแกร่งทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศ นวัตกรรมอันล้ำสมัย ตลอดจนศักยภาพในการให้บริการลูกค้ามาผสานเข้ากับความน่าเชื่อถือแทงหวย24ของแบรนด์ รวมถึงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านบริการทางการเงินของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งแน่นอนว่า ความร่วมมือนี้ คือ ส่วนสำคัญที่จะผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศท่ามกลางความท้าทายในปัจจุบัน

ขณะเดียวกันในส่วนของภาครัฐก็มีความเป็นห่วงเล็กๆในการดีลครั้งนี้ โดย “นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์” รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) กล่าวว่า รัฐบาลเป็นห่วงเรื่องการควบรวมกิจการของ TRUE กับ DTAC ซึ่งขณะนี้การรวมกิจการเป็นแค่ระดับผู้ถือหุ้น ยังไม่ถึงขั้นการรวมกิจการมือถือ และขณะนี้กระทรวงฯกำลังศึกษากรณีดังกล่าวว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ ถ้ามีผลกระทบต่อการผูกขาดจะเข้าไปกำกับดูแล

“ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมเป็นสาธารณูปโภค เป็นโครงการพื้นฐานของประเทศ ธุรกิจแบบนี้มีการลงทุนและมีความเสี่ยงสูง และมีการให้สัมปทาน ไม่ได้มีเจ้าเดียวในประเทศ แต่ไม่ว่าจะมีการแข่งขัน 2-3 ราย ก็อาจมีการฮั้ว กดดันผู้บริโภคได้ ก็ต้องมีการกำกับดูแล โดยให้ กสทช.ไปกำกับดูแล ป้องกันการขึ้นราคา การทำธุรกิจบางอย่างอาจไปส่งผล กระทบ ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ก็ต้องมีการกำกับดูแล ยืนยันรัฐบาลไม่ได้เข้าไปมีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วย”

ด้านมุมมองของนักวิชาการ “อาจารย์ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา “วิทยากร และที่ปรึกษาด้านการตลาดดิจิทัล มีมุมมองในเรื่องนี้ว่า การประกาศตัวควบกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC เขย่าวงการสื่อสาร และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมครั้งใหญ่ เพราะปัจจุบันการสื่อสารได้ถูกยกระดับขึ้นไปอีกขั้นการสื่อสาร แบบ Voice& Data ซึ่งเป็นแค่โครงสร้างพื้นฐานถูกรีดกำไรไปให้ ผู้เล่นดิจิทัล Over The Top ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ยุคต่อไปของโทรคมนาคม คือการสร้างความแข็งแกร่งให้สามารถแข่งขันกับผู้เล่นระดับโลกได้ โดยการเตรียม Transform จากบริษัทโทรคมนาคมสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี หรือ Tech Company จะเห็นได้ว่า Landscape หรือ ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การพึ่งพิงรายได้จากค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน ทำให้ชัดเจนถึงสถานการณ์ของธุรกิจโทรคมนาคมที่กล่าวได้ว่า “เข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม”

 

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในช่วงหลายปีที่ผ่านมาถูกท้าทายด้วยผู้เล่นรายใหญ่ระดับโลก ทำให้โทรคมนาคมถูกมองว่าเป็นแค่ท่อรับส่งข้อมูลทำให้มูลค่าตลาดโทรคมนาคมไม่สามารถเติบโตได้ เพราะรายได้และมูลค่าเพิ่มต่าง ๆ กลับไปงอกเงยกับผู้ประกอบการ Over The Top (OTT) อย่างเช่น Facebook Google Line Youtube และ Tiktok เป็นต้น

อย่างไรก็ดี เมื่อ TRUE และ DTAC รวมกันจะกลายเป็นผู้มีส่วนแบ่งตลาด (Market Share) การควบรวมกิจการ (Merger and Acquisitions : M&A) เป็นวิธีการหนึ่งในการบริหารธุรกิจให้สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหตุผลสำคัญทางธุรกิจ คือ ต้องการเพิ่มความสามารถสร้างขีดแข่งขันให้ธุรกิจเพิ่มขึ้น ลดต้นทุน เพิ่มความคล่องตัว เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

การรวมกันในครั้งนี้เกิดเป็นพันธมิตรเชิงนิเวศระหว่าง TRUE และ DTAC ทำให้ฝ่ายผู้ถือหุ้นได้รับผลดีเพราะว่าการลงทุนในแต่ละปีต้องใช้เงินจำนวนที่มหาศาลมากการรวมเข้าด้วยกันจะทำให้ผู้ลงทุนนั้นได้ ประโยชน์ ในส่วนฝ่ายผู้บริโภคอาจจะมีแนวโน้มเป็นผู้ที่เสียผลประโยชน์ และถูกกระทบมากที่สุด เพราะจะสับสนอย่างแน่นอนว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป ย้ายค่ายดีไหมเพื่อความปลอดภัยในตัวผู้บริโภคเอง

และสำหรับในแง่ของฝ่ายพนักงานองค์กรของ TRUE และ DTAC ซึ่งถ้าหากเมื่อถึงเวลาที่ต้องรวม บริษัทแล้วพนักงานจะต้องทำอย่างไร ทิศทางจะเป็นอย่างไร ต้องขึ้นตรงกับบริษัทฝั่งไหนในส่วนนี้ต้องสร้างความชัดเจน และกำหนดทิศทางในการบริหารจัดการให้ดี

แต่ทั้งนี้หากการรวมกันของ TRUE และ DTAC สามารถสร้างความมั่นใจ และสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกันในทุกฝ่าย การรวมกันในครั้งนี้จะสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์สูงสุด ต่อผู้บริโภคและประชาชนไทยได้อย่างแน่นอน

เป็นเรื่องที่ต้องลุ้นกันต่อไปว่าบทสรุปมหาดีล “TRUE และ DTAC” ครั้งนี้จะเป็นอย่างไร!?!

ผลประโยชน์แสนล้านจะตกอยู่ที่ “ผู้ให้บริการ หรือ ผู้บริโภค” !!!

งานนี้บอกได้คำเดียวว่า “ห้ามกระพริบตา”

You may also like...