baifernha

News

สินทรัพย์ดิจิทัล ความจริงที่ไม่มีใครรู้

 

สามัญสำนึก
สุดใจ ชาญชาตรีรัตน์
ความร้อนแรงของ “สินทรัพย์ดิจิทัล” โดยเฉพาะประเภทเงินสกุลดิจิทัล หรือคริปโทเคอร์เรนซีที่สร้างความมั่งคั่งให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ รวมถึงธุรกิจบางกลุ่มจนถูกระบุว่าเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในยุคโควิด-19

แต่หลายคนก็มองว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ “การลงทุน” เพราะไม่สามารถวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานใด ๆ ของการขึ้นลงราคาได้ แต่เป็นการเก็งกำไรตามกระแสข่าวที่เกิดขึ้นหรือสร้างขึ้น

เมื่อมีคนสนใจโดดเข้ามาซื้อขายมากขึ้นความต้องการก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่สิ้นปี 2564 ยอดเปิดบัญชีซื้อขายคริปโทน่าจะแตะ 2 ล้านบัญชี จาก ก.ล.ต.เปิดเผยข้อมูลสิ้นเดือน พ.ย.อยู่ที่ 1.979 ล้านบัญชี ด้วยยอดซื้อขายเดือนละกว่าแสนล้านบาท

ช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสฟังมุมมองเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลจาก “บัณฑูร ล่ำซำ” ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทยระบุว่า ไม่รู้ว่าราคาเหรียญที่วิ่งขึ้นลงมาจากอะไร คนรุ่นใหม่แห่เข้าไปเพราะเพื่อน ๆ บอกมีกำไร กลัวเสียโอกาส

ส่วนเคแบงก์ก็เข้าไปศึกษาในแง่เทคโนโลยี เพราะกลัวตกยุค แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องรีบเข้าไป เรื่องนี้ต้องศึกษาให้ดีเพราะยังไม่มีใครรู้ความจริงว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร

ขณะที่นักลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ขาใหญ่ในตลาดหุ้นอย่าง “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” เรียกการซื้อขายคริปโทว่าเป็น “การพนัน” ถูกกฎหมาย

อย่างไรก็ดีแม้ว่าเงินสกุลดิจิทัลอย่าง “บิตคอยน์” ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ทำงานแบบกระจายศูนย์ช่วยป้องกันปลอมแปลงธุรกรรม และสามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ธุรกรรมเกี่ยวกับคริปโทจะโปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพราะ “สินทรัพย์ดิจิทัล” ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับทุกคน แม้กระทั่งหน่วยงานกำกับดูแล และด้วยกฎหมายที่ยังไล่ไม่ทันเกมเทคโนโลยี ก็อาจทำให้เกิดช่องโหว่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน เช่นกรณีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ

เกมนี้จึงเป็นความท้าทายของผู้กำกับดูแลที่ไม่เพียงจะต้องยกระดับการกำกับ ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา สำนักงาน ก.ล.ต.ได้เปิดเผยรายงานข้อมูล “ลงโทษปรับ” ผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจำนวน 3 รายประกอบด้วย “บิทคับ ออนไลน์” “บิทาซซ่า” และ “สตางค์ คอร์ปอเรชั่น”

ฐานความผิดตามมาตรา 30 เนื่องจากทั้ง 3 บริษัทในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าในระบบ cold wallet น้อยกว่า 90% ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าทั้งหมดที่เก็บรักษาไว้ และไม่นำสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไปฝากไว้กับผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด

และสำหรับ “บิทคับ” ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดปี 2564 โดยเปรียบเทียบปรับทั้งหมด 9 รายการ เป็นเงินรวมกว่า 4 ล้านบาท ด้วยประเด็นต่าง ๆ อาทิ ระบบงานที่รองรับการรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้าไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บริษัทประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการซื้อขายที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต., ให้บุคคลที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารบริษัทเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

รวมถึงระบบงานและกลไกการทำงานของระบบซื้อขายไม่รัดกุมเพียงพอที่จะทำให้บริษัททราบธุรกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็นการผลักดันราคาจากการแจ้งเตือนของระบบในทันที

สะท้อนถึงความเสี่ยงในอีกมิติ เพราะตลาดเพิ่งเริ่มต้น ทุกอย่างอยู่ในช่วงการเรียนรู้ แต่ด้วยความร้อนแรงหลายคนกลัวตกรถไฟ อาจทำให้มองข้ามความเสี่ยงเหล่านี้

โจทย์ท้าทายของหน่วยงานกำกับดูแลอย่างสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ต้องร่วมมือกันเพื่อที่จะบาลานซ์ระหว่างการพัฒนานวัตกรรมการเงินกับความเสี่ยงต่อระบบที่จะเกิดขึ้น

สิ่งสำคัญอีกด้านก็คือ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งคริปโทเคอร์เรนซี และโทเค็นดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจความเสี่ยงที่แท้จริง

You may also like...